A Knowledge Assessment On Sustainable City In Thailand​

sustainable development

A Knowledge Assessment on Sustainable City in Thailand

year 2016

โครงการการประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย
พ.ศ. 2559
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลง)
The city is a densely populated area and the location of public services, jobs, economic and educational centres, and highly important places. As the city grows in response to development, there is a need for urban growth that is sustainable and takes into account factors such as the society, economy, environment, and governance, to create a city that is sustainable in all dimensions.

The Thailand Research Fund has recognised the importance of sustainable urban development and has therefore produced the Sustainable City series through the evaluation of existing knowledge on sustainable cities in Thailand in order to determine the direction of future research on the topic. International frameworks were examined and compared to the Thai frameworks on sustainable cities, as well as international agreements on the sustainable urban development agenda to which Thailand is a signatory and the directions on urban development in the National Economic and Social Development Plan, to evaluate whether Thailand’s knowledge of sustainable development is consistent to that of the international context.

Research was conducted on existing academic research in Thailand, including studies which have been supported by the Thailand Research Fund in the past twenty years and focuses on the issue of sustainable urban development in various contexts in order to identify important directions for developing research questions which are appropriate to the Sustainable Cities series in the future.

The research findings reveal that the concept of sustainable development in Thailand is consistent with the international context in the social, economic, environmental and urban governance aspects, which are all important to the sustainable city. Existing research could be categorised into 5 main topics as follows:

1.) The livable city, this topic has the most numerous research but the integration with other aspects remain limited and there are few studies regarding urban health.

2.) Sustainable Cities, which is second in research quantity but is still lacking the consideration of whether or not existing developments are sustainable and long term evaluation and monitoring of projects which are not sufficiently clear.

3.) Fairness and equity; most research does not cover this component and existing research on the topic remain ambiguous about discouraging discrimination against vulnerable groups in society and limited connections have been made to the issue of the city. There is also a lack of clarity regarding business ethics.

4.) Viable – Eco Efficiency; there is limited research on this topic because it is seldom put into action. Only few agencies are involved in this type of development. Existing research is not sufficiently decisive in its support of eco cities and compact cities, and there is also limited research on low-carbon cities.

5.) Urban governance, which has the least amount of existing research. Despite the existence of working committees and indicators, their work has been ambiguous and there is limited cooperation between agencies as well as participation in all stages of the operational development and evaluation. Consequently, it is advisable for the conceptual development of sustainable cities to focus on viable eco-efficiency and urban governance while also prioritising a comprehensive and integrated approach consistent with the international context as well operational research which can be realistically implemented. Future research should also correspond to the objective of sustainable development within 2030 for comprehensive academic research on sustainable cities.

(ฉบับภาษาไทย)
สืบเนื่องมาจากชุดโครงการเมืองยั่งยืนที่มีความประสงค์ที่จะสนับสนุนงานวิจัยในอนาคตเพื่อ 1) เป็นงานวิจัยใหม่และงานวิจัยต่อยอด หรือบูรณาการเชื่อมโยงกับงานวิจัยฝ่ายอื่นที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยให้การสนับสนุนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน อีกทั้ง 2) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายที่ร่วมกับภาคสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อรูปแบบการพัฒนาเมืองให้มีความยั่งยืน และสุดท้าย 3) เพื่อทำหน้าที่ประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า และจัดทำบทสรุปผลการดำเนินงานจองแต่ละโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้ชุดโครงการ โดยที่เมืองยั่งยืนนี้มีกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้บริบทการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพ 3 มิติพื้นฐาน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และมีความเชื่อมโยงสู่ 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ ภายติบริบทของสังคมไทย และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

เพื่อให้การดำเนินการสนับสนุนงานวิจัยในชุดโครงการเมืองยั่งยืนบรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับกรอบในการดำเนินงานทั้ง 3 ด้านของเมืองยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากชุดโครงการวิจัยดังกล่าวไปใช้เชื่อมโยงกับโครงการวิจัยในฝ่ายอื่นๆ ของ สกว. และเป็นส่วนหนุนเสริมเพื่อการกำหนดนโยบาย สร้างกลไกการทำงาน หรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเมืองสู่ความยั่งยืนในอนาคตนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประเมินองค์ความรู้ของงานวิจัย งานศึกษา และเอกสารราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองยั่งยืนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของประเทศไทย เพื่อทำความเข้าใจทิศทาง กรอบแนวคิด และองค์ความรู้ที่มีอยู่ของประเทศไทยด้านเมืองยั่งยืน และจะนำไปสู่การตั้งโจทย์ใหม่ที่ความสอดคล้องกับกรอบแนวคิดเมืองยั่งยืนที่ทางชุดโครงการจะให้การสนับสนุนต่อไป โครงการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ คือ

(1) ทบทวนกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืน (sustainable urban development’s framework) ในบริบทสากล
1.1) ทบทวนข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องการพัฒนาเมืองยั่งยืน (sustainable urban development agenda) ในระดับสากลที่ประเทศไทยเข้าร่วม
1.2) ศึกษากรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนในระดับสากล เพื่อวิเคราะห์ทิศทางที่สำคัญเพื่อการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมะสมกับกรอบการดำเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน

(2) ทบทวนแนวคิดการพัฒนาเมืองยั่งยืนในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ทิศทางที่สำคัญเพื่อการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมะสมกับกรอบการดำเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน

(3) ประเมินความรู้ด้านการพัฒนาเมืองยั่งยืนของประเทศไทยว่าสอดคล้องกับกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืนในระดับสากลหรือไม่
3.1) การวิเคราะห์และประเมินช่องว่างองค์ความรู้ของประเทศไทยกับกรอบการพัฒนาเมืองยั่งยืนในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้ดุลยภาพของการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Economic-Environment) โดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศกับการพัฒนาเมือง และเพิ่มเติมประเด็นดุลยภาพระหว่าง สุขภาพ (Social-Environment) และ การลดความเหลื่อมล้ำ (Social-Economic)

(4) ประเมินงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองยั่งยืนที่ทาง สกว เคยให้การสนับสนุนในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เพื่อเสนอแนะทิศทางการพัฒนาโจทย์วิจัยที่เหมะสมกับกรอบการดำเนินงานของชุดโครงการเมืองยั่งยืน

Research Team

Assoc.Prof. Wijitbusaba Marome (รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์)

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Natthaphon Wongpeng

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Pasita Poomchaiya

Faculty Of Architecture And Planning, Thammasat University

Khunnawud Angkarattanapichai

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Angkarattanapichai Patcharaphan

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Thitirat Pholcharoen

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Yannavith Pothong

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Research Fund

The Thailand Research Fund

publication