Resilience Spatial Planning In City Of Udonthani

Institution/Policy

Resilient Spatial Plan and Adaptive Urban Governance: Udonthani City Region

year 2018-2019

Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

Udonthani Province has a total area of 11,680 square kilometers. It is the 4th largest province In the northeastern region and the 11th in Thailand. The area is characterized by high terrain and mountainous slopes with few low plains. There has been a growth in urbanization and expansion of residential areas, especially along the main highway that cuts through three local administrative offices. The new settlement on the northern edge of Udonthani city region is prone to flood.

Some of the most severe floods that occurred in 2000, 2001, 2009, and 2011 caused substantial financial damage as the affected areas were important economic and residential areas. The city therefore needs to prioritize sectors for water allocation and the urban community is often among the top. The risk of Udonthani’s urban settlement may be addressed in terms of loss and damage of the city’s economy and households.

In addition, the city is undergoing expansion without proper urban planning that conforms to the geographical and change in economic and demographic profile. Proper spatial planning, both in terms of land use planning and infrastructures to support urban services for the city, is required as foundation to enhance resilience of the city against future climate stresses.

The research is not only for academic purposes but also helps the government and business sector be well prepared for the future and adapt to the changing climate, in particular when it is local research in a specific context

There are 5 key policy recommendations proposed, which are:

1. Relocating wastewater treatment plant to more appropriate area
2. Resilient rainwater management to ensure water availability and cope with rising demand
3. Establishing green network corridors to link water resources and allow better access
4. Improving water storage or constructing a new urban catchment for the city
5. Developing a “resilient plan” as part of the town planning law and spatial planning system to support sustainable development in flood-prone areas

Moreover, to promote policy and plan implementation, it also requires proper institutional arrangement to effectively support urban planning that has unity in urban planning process across multiple administration units, to conform with the growth of the city in the future. Adaptive urban governance is also suggested to cope with future climate and city changes. Adaptive urban governance includes policy, law, and institutional recommendations on the possibility of implementation and enhancement of resilient urban planning were also proposed and discussed. These include:

1. The development of incentive mechanisms for local government to provide reliable information to improve all planning processes.
2. The establishment of an expert organization to provide more reliable data; adoption of the resilient spatial planning concept as part of the town planning law to enable effective policy and law enforcement.
3. Support for the proactive roles of the town planning board at the provincial level, in particular an approval process which allows participatory spatial planning development and enables adaptive law and governance.

มองผ่านเลนส์จังหวัดอุดรธานี: แผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศของเมือง

อุดรธานีวางแผนเมืองเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร เมืองอุดรธานีกับผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศ อุดรธานี เมืองเศรษฐกิจหลักของภาคอีสาน เป็นศูนย์กลางการขนส่งของทั้งภาคอีสานและภาคอีสานตอนบน อย่างไรก็ตาม เมืองอุดรธานีเคยประสบเหตุน้ำท่วมใหญ่ในปีพ.ศ. 2544-2545 และปีพ.ศ. 2552 และ 2554 นอกจากนี้ ยังเกิดน้ำท่วมอยู่บ่อยครั้งในเขตเมืองและบริเวณที่ลุ่มด้านเหนือของเมืองอุดรธานี ข้อมูลประวัติศาสตร์และการพยากรณ์ปริมาณน้ำฝนแสดงให้เห็นถึงจำนวนวันที่ฝนตก แต่ความรุนแรงของฝนก็มีเพิ่มขึ้น ตัวแปรสภาพภูมิอากาศและที่ไม่ใช่สภาพภูมิอากาศ ทำให้อุดรธานีอยู่ภายใต้ความกดดันในเรื่องน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบ เช่น น้ำท่วมในตัวเมือง ฝนทิ้งช่วง และการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขื่อนห้วยหลวงที่เป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการบริโภคในตัวเมืองและเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และในบางครั้ง ก็เกิดความขัดแย้งกันเองในกลุ่มผู้ใช้น้ำ จากการที่มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการการใช้น้ำก็มากขึ้นตามมาด้วย ประกอบกับความกดดันทางสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การให้บริการในเขตเมือง เช่น การประปา และการจัดการน้ำเสียมีความเสี่ยงในสถานการณ์ปกติ สถานการณ์ที่เกิดความรุนแรงสูงสุด และการพัฒนาเมืองสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าศักยภาพของการให้บริการด้านการประปาและการกำจัดของเสียไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองอุดรธานีกิจกรรมและความต้องการทางเศรษฐกิจที่เพิ่มของเมืองในอนาคตได้ แก้ปัญหาในพื้นที่อย่างไร : การทำงานร่วมกับท้องถิ่น เพื่อรับมือกับสภาพปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีการเสนอการบูรณาการแนวคิดเรื่อง “การวางแผนพลวัตของเมืองและพลวัตภิบาล” เข้าสู่นโยบายและการวางแผนการพัฒนาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับโครงการสนับสนุนการจัดทำแผนการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติการจัดการความเสี่ยง (Risk-NAP) ซึ่งดำเนินงานโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์ วิจัย และฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA-START Regional Center) จึงได้จัดการประชุมเพื่อบูรณาการข้อเสนอการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่และการออกแบบสถาบันที่สามารถปรับเปลี่ยนได้และตอบสนองต่อความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ จังหวัดอุดรธานี ในการประชุม มีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 80 คนจากหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น เช่น กรมโยธาธิการและผังเมืองในระดับส่วนกลาง สำนักงานจังหวัดอุดรธานี หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการและการบริหารจัดการน้ำ ผู้แทนจากชุมชน เทศบาล หอการค้าและนักพัฒนา กลุ่มคนทำงานวิจัย เครือข่ายต่างๆ ด้านการพัฒนาเมือง สถาบันการศึกษาในพื้นที่ และผู้แทนจากจังหวัดใกล้เคียง ผู้เข้าร่วมจากเทศบาลและชุมชนในจังหวัดอุดรธานีมีความกระตือรือร้นในการนำเสนอความคิดเห็นจากพื้นที่ การอภิปรายในการประชุมนี้สร้างแรงบันดาลใจให้จังหวัดอื่นๆ เกิดการริเริ่มในการวางแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ นายปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้กล่าวในพิธีเปิดงานประชุมว่า “ผมขอขอบคุณที่เลือกจังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษาเรื่องนี้ จังหวัดของเราได้รับผลกระทบอย่างมากจากปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศ จังหวัดของเราไม่ใช่แค่เพียงกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม แต่น้ำท่วมทำให้ปัญหาเรื่องการจัดการของเสียในเมืองแย่ลงอีกด้วย” การแก้ปัญหา: ผังพลวัต และการออกแบบสถาบันเพื่อขับเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการ สผ. กล่าวว่า “จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว จังหวัดอุดรธานีเป็นพื้นที่นำร่องของโครงการฯ ซึ่งมีความน่าสนใจที่จะทำความเข้าใจเรื่องพลวัตของเมืองและการส่งเสริมเรื่องการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวคิดเรื่องสถาบันที่สามารถปรับตัวได้ และการวางแผนการใช้พื้นที่” มร. ทิม มาเลอร์ ผู้อำนวยการ GIZ ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย กล่าวเสริมว่า “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นรุนแรงมาก ไม่เฉพาะแค่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังเกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลก งานวิจัยนี้ไม่เพียงแต่ทำขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ทางด้านวิชาการ แต่ยังเป็นการช่วยให้รัฐบาลและภาคธุรกิจเกิดการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยท้องถิ่นที่มีบริบทเฉพาะ” ผศ.ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้ - ย้ายโรงบำบัดน้ำเสียไปยังพื้นที่ที่เหมาะสม - การบริหารจัดการน้ำฝนแบบครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำประปาที่เพิ่มขึ้น - สร้างโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ที่เชื่อมกับแหล่งน้ำและการเข้าถึงแหล่งน้ำได้ดีขึ้น ปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำหรือสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กสำหรับเมืองแหล่งใหม่สำหรับพื้นที่ในเขตเมือง - ควรมีการวางและจัดทำ “ผังพลวัต” ในระบบผังเมืองไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงต่ออุทกภัย นอกจากนี้ ยังได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับการนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอทางกฎหมาย และข้อเสนอด้านองค์กรไปปฏิบัติและการวางแผนพลวัต ดังนี้ ควรพัฒนากลไกแรงจูงใจเพื่อกระตุ้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ข้อมูลที่มีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือ ควรจัดตั้งองค์กรผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผสานแนวคิดการวางแผนพื้นที่เข้าสู่กฎหมายการวางผังเมือง เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ควรสนับสนุนบทบาทของคณะกรรมการผังเมืองจังหวัดในกระบวนการพิจารณาเห็นชอบผังเมือง เนื่องจากเหตุผลด้านความคล่องตัว ซึ่งสอดคล้องกับหลักกฎหมายและสถาบันที่ปรับตัวได้ ก้าวต่อไป : การขยายแนวคิดไปสู่การพัฒนาเมืองอื่นๆ ในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่สร้างความตระหนัก ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในเรื่องความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรกที่จะได้เห็นภาพฉายอนาคตของเมืองในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ การประชุมยังช่วยกระตุ้นความคิดเชิงยุทธศาสตร์ของผู้วางนโยบายหรือนักพัฒนาในจังหวัดอื่นๆ ในการทำงานเชิงรุกเพื่อรับมือกับความท้าทายทั้งด้านสภาพภูมิอากาศและที่ไม่ใช่สภาพภูมิอากาศ โดยการบูรณาการแนวคิดความพลวัตของเมืองเข้าไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัดและเป้าหมายการพัฒนาเมืองในอนาคต

Research Team

Asst.Prof. Wijitbusaba Marome

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Asst.Prof. Pornson Liengboonlertchai

Faculty of Law, Chulalongkorn University

Research Fund

Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ)

Publication