TNA

urban resilience

Technology Needs Assessment for Climate Change Mitigation and Adaptation (TNA)

year 2021

โครงการพัฒนาแผนที่นำทางและฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ปี พ.ศ.2564
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลง)
For Thailand, the Technology Needs Assessment for Climate Change Mitigation and Adaptation (TNA) was developed in 2012 in order to identify, evaluate and prioritise technological needs for both mitigation and adaptation. In terms of adaptation, 3 main sectors were identified: 1) Agriculture 2) Water Resource Management and 3) Climate Modelling. Within these sectors, technology development was suggested in relation to precision farming technologies, early warning systems and weather and climate prediction systems. In terms of mitigation, the TNA focuses on the energy sector and identified the topics of 1) Energy supply and transformation 2) Renewable energy technology 3) Energy efficiency improvement on demand side and 4) Other energy technologies as key priorities.
The TNA project submitted here is altogether developed by the leading Thailand climate change-related experts. Nevertheless, we find this assignment is multidiscipline and cross cutting in nature, and much challenging particularly on how to undertake a technology needs assessment in 6 priority sectors identified in Thailand’s NAP, to develop the climate technology roadmap and database as well as to implement selected technology in the pilot study. As this assignment rather needs multidisciplinary specialists who can work on the issues related to climate change adaptation in 6 priority sectors, in response to such requirement, the team members here are including specialists on; climate database and modeling, water resources, agriculture, natural resources, health, tourism and human settlement.

Overall objective The overall objective of our proposed assignment is to support the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP) and Office of the National Higher Education, Science, Research, and Innovation Policy Council (ONES) in the development of the Climate Technology Roadmap and Database: Adaptation. Our proposed assignment will consist of research and technical support to ONEP and ONES on identifying technology options and developing the technology database in the 6 priority sectors for adaptation as identified in Thailand’s NAP. They are Agriculture, Water, Natural Resources, Human Settlement and Security (including Disaster Risk Reduction and Prevention), Tourism and Health. The output of this assignment will be in line with Thailand’s NAP, and great support for its implementation.

Methodological concepts Task 1 : Stock take, review and analyze existing climate change adaptation plans, relevant sectoral policies and plans, international agreements and relevant literature, research and studies including inter alia Task 2 : Undertake a technology needs assessment in 6 sectors with relevant stakeholders and develop a concept note for Policy Sandbox Task 3 : Develop the Climate Technology Roadmap: Adaptation Task 4 : Develop the database for the Climate Technology Roadmap and Database: Adaptation Task 5 : Implement at least one selected technology as a pilot case study (Policy in Action or Policy Sandbox) in order to ensure that the proposed technology can be implemented at national and/or subnational level and summarise and recommend appropriate steps, processes, lessons-learned on the enabling framework, key challenges, success factors, etc.

Proposed conceptural framework.

Activities to achieve objectives and Expected output from activities.

(ฉบับภาษาไทย)
การศึกษาวิจัยที่ผ่านมาทางด้านภัยพิบัติที่สืบเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศในเขตเมือง เช่น อุทกภัย วาตภัย ที่มีต่อสิ่งปลูกสร้างยังมีไม่มากนัก โดยส่วนใหญ่เป็นการรายงานถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ พื้นที่สำคัญที่ได้รับความสนใจสูงสุดคือ กรุงเทพมหานคร และชุมชนขนาดใหญ่ เนื่องจากชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูง และมีความจำเป็นต้องหาวิธีป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งประสบปัญหาอยู่บ่อยครั้ง ส่วนภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่นยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อการทำโครงการป้องกันน้ำท่วมเป็นหลัก เช่น โครงการระบายน้ำในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดความเสียหายมากที่สุด ส่งผลกระทบ 65 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบมากกว่า 13 ล้านครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 813 คน มูลค่าความสูญเสีย 1.44 ล้านล้านบาท การศึกษาวิจัยด้านผลกระทบที่มีต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในชุมชนริมแม่น้ำสายหลัก ชุมชนเกษตรกร และพื้นที่ป่า ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาผลกระทบต่อชุมชนขนาดใหญ่ ส่วนชุมชนขนาดเล็กกว่าสามารถปรับตัวรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ง่ายและความเสียหายไม่มาก โดยส่วนใหญ่เป็นการสูญเสียผลผลิตการเกษตรเป็นหลัก

หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ เทคโนโลยี การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลายรูปแบบ ซึ่งไม่จำกัดเพียงเทคโนโลยีในรูปแบบของอุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐาน แต่ยังครอบคลุมถึงกระบวนการตัดสินใจ การจัดการ และการจัดการองค์กร เทคโนโลยีสามารถช่วยปกป้องสังคมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และช่วยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นิยามของเทคโนโลยีการปรับตัว คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเปราะบาง (vulnerability) หรือเพิ่มความสามารถในการมีภูมิคุ้มกัน (resilience) ของธรรมชาติหรือมนุษย์ ต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้เทคโนโลยีจำเป็นต้องพิจารณาวิธีการปฏิบัติในท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคำนึงถึงบริบทของการปรับตัวในท้องถิ่น

โครงการพัฒนาแผนที่นำทางและฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายในการรับรองการประเมินเทคโนโลยีใน 6 สาขา ของแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ การพัฒนาแผนที่นำทางและฐานข้อมูลเทคโนโลยีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ รวมถึงการพัฒนาข้อเสนอโครงการเพื่อนำไปสู่การดำเนินโครงการ การทดสอบนโยบายการพัฒนาและการรังสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบใหม่ (Policy Sandbox) ของเทคโนโลยีที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการนำไปสู่การปฏิบัติจริงในอนาคต

วัตถุประสงค์ของโครงการคือ

1. จัดทำแผนที่นำทางด้านเทคโนโลยีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 6 สาขา ตามที่ระบุไว้ในแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ได้แก่ สาขาการจัดการน้ำ สาขาเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สาขาการท่องเที่ยว สาขาสาธารณสุข สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์

2. จัดทำฐานข้อมูลของเทคโนโลยีการปรับตัวฯ ของทั้ง 6 สาขา

โดย วิจิตรบุษบา มารมย์ เป็นผู้วิจัยในสาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงมนุษย์ โดยมีการวิเคราะห์การพัฒนาเมืองทุกมิติ ทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กระทบต่อการตั้งถิ่นฐาน และความมั่นคงของมนุษย์ จะต้องครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีที่จับต้องได้ (hard technology) และจับต้องไม่ได้ (soft technology) โดยเทคโนโลยีที่พิจารณาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม i) เทคโนโลยีเพื่อการวางแผนและเตรียมพร้อมรับมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพเมือง เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่เน้นเรื่องการวางแผนเพื่อรองรับ และเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อเมือง หรือการตั้งถิ่นฐาน และความมั่นคงของมนุษย์ เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลและการจัดทำแผน ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีที่จับต้องได้ เช่น การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมรับมือ เป็นต้น และเทคโนโลยีที่จับต้องไม่ได้ เช่น การจัดทำแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ตัวอย่างเทคโนโลยีในกลุ่มนี้ได้แก่ การจัดทำแผนผังภูมินิเวศของพื้นที่เพื่อการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ยั่งยืน การวางแผนการใช้พื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมือง การเตรียมความพร้อมของชุมชนในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อกลุ่มเปราะบางในเมือง เช่น การออกแบบที่อยู่อาศัย การวางและจัดทำผังเมืองรวม และการจัดการทรัพยากรดินอย่างสมดุลและยั่งยืน และรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ii) เทคโนโลยีเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการรองรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อก่อให้เกิดการปรับตัวในการตั้งถิ่นฐาน หรือการดำรงชีวิตของมนุษย์ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการปรับตัวจากภาวะน้ำท่วมและภัยพิบัติของกรุงเทพมหานคร หรือเมืองขนาดใหญ่ เทคโนโลยีอวกาศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการวางแผนเชิงพื้นที่ และมาตรการการใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้างเพื่อส่งเสริมการปรับตัวต่อภาวะน้ำท่วมของเมืองขนาดใหญ่ เป็นต้น iii) เทคโนโลยีเพื่อประเมินความเสี่ยงสำหรับการตั้งถิ่นฐาน และความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการประเมินความเสี่ยงภัยต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

Research Team

Asst. Prof. Dr. Jerasorn Santisirisomboon

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Assoc. Prof. Dr. Kansri Boonpragob

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Project members: Agriculture sector

Dr. Chitnucha Budaboon

Rice Department

Miss Benjamas Rossopa

Rice Department

Miss Sumittra Channeam

Rice Department

Project members: Water sector

Dr. Winai Chaowiwat (ดร.วินับ เชาว์วิวัฒน์)

Hydro Informatics Institute

Ms. Jirawan Kamma

Hydro Informatics Institute

Project members: Natural Resources sector

Asst.Prof.Dr. Patama Singhruck (ผศ.ดร.ปัทมา สิงหรักษ์)

Chulalongkorn University

Asst.Prof.Dr. Jaruthat Santisirisomboon (ผศ.ดร.จารุรัตน์ สันติศิริสมบูรณ์)

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Project members: Human Settlement and Security sector

Assoc.Prof. Dr.Wijitbusaba Marome (รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์)

Urban Futures and Policy Research Unit, Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Project members: Tourism sector

Dr Kannika Thampanishvong

Thailand Development Research Institute (TDRI)

Miss Yaowalak Chantamas

Thailand Development Research Institute (TDRI)

Project members: Health sector

Dr. Atsamon Limsakul

Environmental Research and Training Center

Mr. Wutthichai Paengkaew

Environmental Research and Training Center

Compter and Database experts

Asst.Prof.Dr.Waranyu Wongseree

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Asst.Prof.Dr.Kamphol Promjiraprawat

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Asst.Prof.Dr.Damrongrit Setsirichok

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Mr.Ratchanan Srisawadwong

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Coordinators

Asst. Prof. Dr. Yod Sukamongkol

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Ms. Siriwarin Petcharat

Ramkhamhaeng University Center of Regional Climate Change and Renewable Energy (RU-CORE)

Research Fund