SDG goal 11

sustainable development

An assessment of a stage of the Sustainable Development Goal in Thailand and possible alternatives of economic, social and legal measures: SDG-Goal 11 (sustainable cities and communities)

year 2019

โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย: เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน
ปี พ.ศ.2562
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

(สำหรับภาษาไทย กรุณาเลื่อนลง)
“ An assessment of a stage of the Sustainable Development Goal in Thailand and possible alternatives of economic, social and legal measures: SDG-Goal 11 (sustainable cities and communities)” aims to assess the stage and the readiness of the SDG-Goal 11 in Thailand with a view to make cities and human settlements inclusive, safe, resilient and sustainable. The research methodology includes secondary information reviews and public and private/civil society sectors interviews in order to provide the definition of terms for the current ix targets and indicators. Moreover, this research also studies the current stage, level of achievement and capability of the related public and private sectors to purpose different types of measures and other national indicators in order to foster an integrated and achievable SDG-Goal 11 for sustainable cities in Thailand.

(ฉบับภาษาไทย)
การทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน เป็นเป้าหมายที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ในอดีตคนไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบท แต่ปัจจุบันคนย้ายเข้ามาอยู่ในเมือง และในขณะนี้ประเทศไทยมีเมืองที่มีความเจริญเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังมีกรุงเทพมหานครที่เป็นมหานคร (Megacity) สำคัญของโลก อย่างไรก็ตามการย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองมากขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การหาที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และต้องเรียนรู้การอยู่อาศัยร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างในพื้นที่ หรือหากมองในระดับใหญ่ หลายเมืองของประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย อย่างไรก็ตาม ทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองต่างก็เป็นพลเมืองของพื้นที่และได้ทำหน้าที่ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง ดังนั้นทุกคนในเมืองจึงควรที่จะได้รับการดูแลและได้รับการสนับสนุน แต่ทว่าทิศทางในการพัฒนาปัจจุบันส่งผลให้หลากหลายพื้นที่กลายเป็นพื้นที่ของผู้มีรายได้สูงเพียงเท่านั้น หลาย ๆ เมืองในประเทศไทยเป็นเมืองที่ถูกสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การขับรถ มีพื้นที่สำหรับเดินน้อยและมีข้อจำกัดในการใช้งานมาก มีระบบขนส่งสาธารณะที่ยังคงประสบปัญหาการใช้งานในหลากหลายด้าน ขาดพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับคนพิการที่ใช้รถเข็น มีพื้นที่สีเขียวน้อย และนอกจากนี้เมื่อกล่าวถึงเรื่องของการพัฒนา ผู้คนส่วนใหญ่มักกล่าวถึงเพียงแต่ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยนัยยะด้านสังคม เช่น การมีคุณภาพชีวิตที่ดี การมีความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต หรือการเข้าถึงการรักษาสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การมีพื้นที่สีเขียว การลดมลภาวะภายในเมือง หรือการปรับตัวต่อภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) นั้นมักถูกมองข้ามไป ดังนั้นการใช้ประโยชน์จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 11 จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยมีการออกแบบและการวางแผนการพัฒนาเมืองที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นับเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีการกำหนดกรอบภาพรวมอันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งด้านสังคม (People) เศรษฐกิจ (Prosperity) สิ่งแวดล้อม (Planet) สันติภาพ (Peace) และความร่วมมือทุกภาคส่วน (Partnership) ภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) โดยประเทศไทย ในฐานะหนึ่งในประเทศสมาชิกสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ลงนามและมีคำมั่นร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการนำเป้าหมายดังกล่าวไปปรับใช้ โดยเป้าประสงค์ที่ 11 คือด้านการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืนนั้น เป็นหนึ่งใน 17 เป้าหมายที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองและสังคมเมืองอย่างยิ่ง และยังมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อตกลงระหว่างประเทศหลายประการ อาทิ วาระการพัฒนาเมืองใหม่ (New Urban Agenda) ความตกลงปารีส (Paris Agreement) และ กรอบการดำเนินงานเซนได (Sendai Framework for Disaster Risk Reduction) ทว่าในปัจจุบันการดำเนินการต่าง ๆ อาจยังขาดการสำรวจสถานะปัจจุบัน ว่าเป้าหมายดังกล่าวนั้นได้ดำเนินการไปในทิศทางใด เกิดมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างไร และมีแนวทางหรือมาตรการที่จะทำให้เป้าประสงค์ที่ 11 นี้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้อย่างแท้จริง

โครงการสำรวจสถานะของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทของประเทศไทย และทางเลือกมาตรการทางเศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย เป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจสถานะฯ ทั้ง 17 เป้าหมาย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ให้มีการศึกษาความเหมาะสมของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อบริบทของประเทศไทย อีกทั้งยังต้องมีการสำรวจทางเลือกอื่น ๆ ที่จะสามารถช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานจึงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องใช้ข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อกำหนดทิศทางและมาตรการประเมินผลความสำเร็จบนหลักการที่เหมาะสมกับบริบทของชาติ อีกทั้งยังสอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางวิชาการอย่างรอบด้าน ทั้งนี้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 11 มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 โดยเฉพาะการมุ่งให้เกิดการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยเน้นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยและบริการพื้นฐานที่เพียงพอ ปลอดภัย การจัดให้มีการเข้าถึงระบบคมนาคมที่ยั่งยืน การมีส่วนร่วมในการบริหารเมืองและชุมชนโดยเฉพาะการกระจายอำนาจสู่หน่วยงานท้องถิ่น การปกป้องและคุ้มครองทางวัฒนธรรม การวางผังเมืองที่เชื่อมโยงและยืดหยุ่นเพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติโดยเฉพาะกลุ่มผู้เปราะบาง การให้ความสนใจต่อคุณภาพอากาศในเมือง การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท การมีแผนการทำงานและนโยบายที่บูรณาการ และการสร้างอาคารที่ยั่งยืนโดยใช้วัสดุท้องถิ่น

แม้ภาครัฐจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองและถิ่นฐานมนุษย์ให้มีความยั่งยืน การดำเนินการในระยะที่ผ่านมา หลายภาคส่วนยังมีเป้าหมายของนโยบายและแผนงานที่แยกส่วน ยังไม่มีบูรณาการด้านข้อมูลและองค์ความรู้ซึ่งถูกจัดเก็บไว้ในแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ อีกทั้งยังไม่ค่อยมีการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการเท่าที่ควร เหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการจัดทำมาตรการและดัชนีชี้วัดสำหรับดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืน

Research Team

Assoc.Prof. Wijitbusaba Marome (รศ.ดร. วิจิตรบุษบา มารมย์)

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Mr. Pachara Mainn

Research Assistant

Mr. Prasert Laohataweechok

Research Assistant

Ms. Nattanan Wannadecha

Research Assistant

Mr. Warute Udomrut

Research Assistant

Ms. Wiriyakorn Khobchit

Research Assistant

Mr. Nontarit Bejrananda

Research Assistant

Research Fund

The Thailand Research Fund

publication