Our Article
การสร้างเมืองที่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง: ความท้าทายและช่องว่างที่ควรดำเนินการ
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์
year 2025
Share on facebook
Facebook
Share on google
Google+
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on whatsapp
WhatsApp

ภาพที่ 1 ภาพถ่ายรวมของผู้เสวนาและผู้บรรยาย
หน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Research Unit in Urban Futures & Policy Research Unit หรือ UFP) ร่วมกับ องค์กร START International (หรือ Global Change System for Analysis, Research, and Training) ที่ทางหน่วยวิจัยฯ ได้เป็นพันธมิตรระดับภูมิภาค หรือ Regional Affiliate และโครงการ EPIC-N หรือ (Educational Partnerships for Innovation in Communities Network) ซึ่งทางหน่วยวิจัย UFP เป็นผู้ประสานงานระดับเอเชีย (Asia coordinator) ได้ร่วมจัดงาน “สัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ การวางแผนและผังเมือง และการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองสำหรับทุกคน” เป็นเวทีสำคัญที่รวบรวม ผู้นำชุมชน นักผังเมือง ผู้กำหนดนโยบาย สถาปนิก และนักวิจัยจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความร่วมมือ และพัฒนากลยุทธ์เชิงปฏิบัติที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2568
จากบทความครั้งที่แล้วที่หน่วยวิจัยฯ ได้เล่าถึงความท้าทายของภูมิอากาศและโอกาสในการพัฒนาชุมชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บรรยายโดย คุณสมสุข บุญญะบัญชา อดีตผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และเลขาธิการมูลนิธิศูนย์ศึกษาที่อยู่อาศัยแห่งเอเชีย (ACHR)
ในครั้งนี้ หน่วยวิจัยฯ จะมาเล่าถึงการบรรยายจาก Keynote Speaker ท่านต่อไปที่คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยของ รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ ครอบคลุมทั้งความยืดหยุ่นและการปรับตัวของเมืองต่อสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และการกำหนดนโยบายการวางผังเมืองที่ครอบคลุม รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเมืองที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ การฟื้นฟูเมือง และการผสมผสานพิจารณาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการวางผังเมือง

ภาพที่ 2 รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ หัวหน้าหน่วยวิจัยอนาคตและนโยบายเมืองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ ได้กล่าวว่า “หนึ่งในความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การหาแนวทางในการสร้างเมืองสำหรับทุกคนที่รองรับการเปลี่ยนแปลง” การจัดประชุมสัมมนานานาชาติครั้งนี้จึงเปรียบเสมือการชวนคิดใหม่ และเปลี่ยนแนวทางการออกแบบและวางแผนเมืองเพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้กลยุทธ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการอาศัยการเรียนรู้จากกลยุทธ์การเผชิญปัญหาของชุมชนที่มีความพลวัตและความสามารถในการปรับตัวที่น่าทึ่งเพื่อความอยู่รอด ผนวกกับการสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปสู่การแนวทางการออกแบบและวางแผนเมืองเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
อันตรายจากสภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในเมืองเชื่อมต่อกัน จากการที่อันตรายจากสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อ “ชีวิตคนเมือง” อาทิ การดำรงชีวิต ผลผลิตทางการเกษตร การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน และทรัพยากรน้ำและพลังงาน ในขณะที่เมืองต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการเกิดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ จากสถานการณ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากภัยที่มีต่อเมืองในอาเซียนหลากหลายรูปแบบ เช่น ภัยน้ำท่วมส่งผลให้ร้อยละ 12 ของประชากรอาเซียนสัมผัสกับผู้คน 84 ล้านคน ประมาณความเสี่ยงทางเศรษฐกิจมูลค่า 926 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (USD) และภัยแล้งส่งผลให้ร้อยละ 15-25 ของประชากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 52 พันล้านดอลลาร์ (USD) เป็นต้น อย่างไรก็ดีผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้หญิง และเด็กอาจจะมีความเสี่ยงที่มากกว่า เนื่องจากลักษณะการทำงานและความอ่อนไหวต่อภัยที่แตกต่าง เช่นเดียวกับความเปราะบางของเมืองที่จะขยายใหญ่ขึ้นตามโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน อาทิ ตัวอย่างของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในแง่ของการขนส่ง: การหยุดชะงักของการบริการขนส่งที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต
“ภัยจากสภาพภูมิอากาศมีผลต่อกลุ่มที่เปราะบางที่สุดในเมืองอย่างไร?” วิกฤตสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยที่มีรายได้ต่ำและการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการติดกับดักอยู่ในวงจรของความยากจนและความอ่อนแอ เนื่องจากภัยพิบัติสภาพภูมิอากาศแต่ละครั้งส่งผลให้สูญเสียสินทรัพย์ชีวิตการบาดเจ็บและการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมและจำกัดความสามารถในการรับมือและปรับตัวเข้ากับความเสี่ยงในอนาคต ดังนั้นความท้าทายที่เมืองต้องเผชิญจึงสามารถแบ่งออกเป็น
1.ความเหลื่อมล้ำ: ผู้คนที่อาศัยอยู่ในการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่เป็นทางการมักจะขาดสภาพความเป็นอยู่ที่สำคัญ เป็นผลโดยตรงผู้คนเหล่านี้หลายคนอาศัยอยู่ด้วยความเสี่ยงต่อชีวิตและบ้านของพวกเขาจากภัยพิบัติเช่นพายุน้ำท่วมดินถล่มคลื่นความร้อนและภัยแล้ง และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถนำไปสู่ความยากจนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและขยายความยากจนสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ที่หรือต่ำกว่าเส้นความยากจน
2.การปกครอง: เมืองต่าง ๆ มีข้อจำกัดในการพัฒนาแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและการพลาดโอกาสในการเพิ่มผลประโยชน์ร่วมของการลดสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน และการมีอุปสรรคในการใช้กลยุทธ์สภาพภูมิอากาศที่จัดการกับความเสี่ยงที่เชื่อมโยงถึงกันรวมถึงการขาดเจตจำนงทางการเมือง และการเงินที่จำกัด
อย่างไรก็ดี “การวางผังเมืองเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสร้างเมืองที่ยั่งยืน เป็นธรรม และการรองรับการเปลี่ยนแปลง” จากประสบการณ์การทำงานวิจัยที่ผ่านมาของรองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรบุษบา มารมย์ อาทิ
1.การมีส่วนร่วมในการทำงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนนโยบายด้านกาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ: Thailand National Adaptation Plan (NAP) - Risk Map ระบบฐานข้อมูลความเสี่ยงเชิงพื้นที่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.มหานครกรุงเทพ เมืองพลวัต (Resilient BMR)
3.โครงการพัฒนาเมืองแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำและการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ (Urban Act): จังหวัดภูเก็ต
4.การควบรวมดัชนีความเปราะบางทางสังคมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินกรณีศึกษา กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
5.โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและชุมชนริมน้ำ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนและสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (ระยะที่ 1) และ
6.Resilient spatial planning & adaptive urban governance: จังหวัดอุดรธานี
นำไปสู่การเรียนรู้ในการสร้างขั้นตอนการวางผังเมืองสามารถเข้ามาสนับสนุนการสร้างเมืองที่ยั่งยืน เป็นธรรม และการรองรับการเปลี่ยนแปลงผ่าน 4 ขั้นตอนดังนี้ (1) การระบุภัย (2) การประเมินความเสี่ยง (3) การประเมินความเปราะบาง และ (4) การออกแบบมาตรการ
